Wiraporn Lanon

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554



......เทคนิคการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ( Speaking Skill) 
การสอนภาษาทุกภาษา มีธรรมชาติของการเรียนรู้เช่นเดียวกัน คือ เริ่มจากการฟัง และการพูด แล้วจึงไปสู่การอ่านและการเขียน ตามลำดับ การสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษในเบื้องต้น มุ่งเน้นความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) ในเรื่องของเสียง คำศัพท์ ( Vocabulary) ไวยากรณ์ ( Grammar) กระสวนประโยค (Patterns) ดังนั้น กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนระดับต้นได้ฝึกทักษะการพูด จึงเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องฝึกปฏิบัติตามแบบ หรือ ตามโครงสร้างประโยคที่กำหนดให้พูดเป็นส่วนใหญ่ สำหรับผู้เรียนระดับสูง กิจกรรมฝึกทักษะการพูด จึงจะเน้นที่ความคล่องแคล่วของการใช้ภาษา ( Fluency) และจะเป็นการพูดแบบอิสระมากขึ้น เพราะจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของการพูด คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยการพูดอย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และความสามารถอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการพูดให้แก่ผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับระดับและศักยภาพของผู้เรียน

......1. เทคนิควิธีปฎิบัติ
กิจกรรมการฝึกทักษะการพูด มี 3 รูปแบบ คือ
...... 1.1 การฝึกพูดระดับกลไก (Mechanical Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่กำหนดให้ในหลายลักษณะ เช่น
พูดเปลี่ยนคำศัพท์ในประโยค (Multiple Substitution Drill)
พูดตั้งคำถามจากสถานการณ์ในประโยคบอกเล่า (Transformation Drill)
พูดถามตอบตามรูปแบบของประโยคที่กำหนดให้ (Yes/No Question-Answer Drill)
พูดสร้างประโยคต่อเติมจากประโยคที่กำหนดให้ (Sentence Building)
พูดคำศัพท์ สำนวนในประโยคที่ถูกลบไปทีละส่วน (Rub out and Remember)
พูดเรียงประโยคจากบทสนทนา (Ordering dialogues)
พูดทายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในบทสนทนา (Predicting dialogue)
พูดต่อเติมส่วนที่หายไปจากประโยค ( Completing Sentences )
พูดให้เพื่อนเขียนตามคำบอก (Split Dictation)
ฯลฯ
......1.2 การฝึกพูดอย่างมีความหมาย ( Meaningful Drills) เป็นการฝึกตามตัวแบบที่เน้นความหมายมากขึ้น มีหลายลักษณะ เช่น
............ พูดสร้างประโยคเปรียบเทียบโดยใช้รูปภาพ
............ พูดสร้างประโยคจากภาพที่กำหนดให้
............ พูดเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในห้องเรียน
............ ฯลฯ
......1.3 การฝึกพูดเพื่อการสื่อสาร (Communicative Drills) เป็นการฝึกเพื่อมุ่งเน้นการสื่อสาร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างคำตอบตามจินตนาการ เช่น
พูดประโยคตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ( Situation)
พูดตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ( Imaginary Situation)
พูดบรรยายภาพหรือสถานการณ์แล้วให้เพื่อนวาดภาพตามที่พูด
 ( Describe and Draw) ฯลฯ


ตัวอย่างวิดีโอการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ


speaking Unit: Myself  Topic: Personal Information Prathomsuksa: 6

เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)

เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ

ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
เทคนิคการสอนทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ( Listening Skill)
         การฟังในชีวิตประจำวันของคนเราจะเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ การฟังที่ได้ยินโดยมิได้ตั้งใจในสถานการณ์รอบตัวทั่วๆไป ( Casual Listening) และ การฟังอย่างตั้งใจและมีจุดมุ่งหมาย ( Focused Listening) จุดมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์ของการฟัง คือ การรับรู้และทำความเข้าใจใน “สาร” ที่ผู้อื่นสื่อความมาสู่เรา 
        ทักษะการฟังภาษาอังกฤษเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและมีความสามารถในการฟังอย่างเข้าใจในสารที่ได้รับฟัง ครูผู้สอนควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการฟังอย่างไร จึงจะสามารถจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ประสบผลสำเร็จ
1.เทคนิควิธีปฎิบัติ 
สิ่งสำคัญที่ครูผุ้สอนควรพิจารณาในการสอนทักษะการฟัง มี 2 ประการ คือ 
1.1 สถานการณ์ในการฟัง สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการฟังภาษาอังกฤษได้นั้น ควรเป็นสถานการณ์ของการฟังที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง สถานการณ์จริง หรือ สถานการณ์จำลองในห้องเรียน ซึ่งอาจเป็น การฟังคำสั่งครู การฟังเพื่อนสนทนา การฟังบทสนทนาจากบทเรียน การฟังโทรศัพท์ การฟังรายการวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ ฯลฯ 
1.2 กิจกรรมในการสอนฟัง ซึ่งแบ่งเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ ขณะที่สอนฟัง ( While-listening) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1) กิจกรรมนำเข้าสู่การฟัง ( Pre-listening) การที่ผู้เรียนจะฟังสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่ได้รับฟัง โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในบริบท ก่อนการรับฟังสารที่กำหนดให้ เช่น 
การใช้รูปภาพ อาจให้ผู้เรียนดูรูปภาพที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะได้ฟัง สนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆการเขียนรายการคำศัพท์ อาจให้ผู้เรียนจัดทำรายการคำศัพท์เดิมที่รู้จัก โดยใช้วิธีการเขียนบันทึกคำศัพท์ที่ได้ยินขณะรับฟังสาร หรือการขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่านและรับฟังไปพร้อมๆกันการอ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่อง อาจให้ผู้เรียนอ่านคำถามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสารที่จะได้รับฟัง เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้รับฟังเกี่ยวกับเรื่องใด เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการรับฟัง และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการฟังสารนั้นๆ 
การทบทวนคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง อาจทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งจะปรากฎอีกในสารที่จะได้รับฟัง เป็นการช่วยทบทวนข้อมูลส่วนหนึ่งของสารที่จะได้เรียนรู้ใหม่จากการฟัง
2) กิจกรรมระหว่างการฟัง หรือ กิจกรรมขณะที่สอนฟัง ( While-listening) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่รับฟังสารนั้น กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการฟัง แต่เป็นการ “ฝึกทักษะการฟังเพื่อความเข้าใจ” กิจกรรมระหว่างการฟังนี้ ไม่ควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ เช่น อ่าน หรือ เขียน หรือ พูด มากนัก ควรจัดกิจกรรมประเภทต่อไปนี้ 
......ฟังแล้วชี้ เช่น ครูพูดประโยคเกี่ยวกับวัตถุ สิ่งของ หรือ สถานที่รอบตัว ภายในชั้นเรียน ผู้เรียนชี้สิ่งที่ได้ฟังจากประโยคคำพูดของครูฟังแล้วทำเครื่องหมายบนภาพ เช่น ผู้เรียนแต่ละคนมีภาพคนละ 1 ภาพ ในขณะที่ครูอ่านประโยคหรือข้อความ ผู้เรียนจะทำเครื่องหมาย X ลงในบริเวณภาพที่ไม่ตรงกับข้อความที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วเรียงรูปภาพ เช่น ผู้เรียนมีภาพชุด คนละ 1 ชุด ครูอ่านสาร ผู้เรียนเรียงลำดับภาพตามสารที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลงใต้ภาพทั้งชุดนั้น


......ฟังแล้ววาดภาพ เช่น ผู้เรียนมีกระดาษกับปากกาหรือ ดินสอ ครูพูดประโยคที่มีคำศัพท์ที่ต้องการให้นักเรียนวาดภาพ เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับวัตถุสิ่งของ สถานที่ สัตว์ ผลไม้ ฯลฯ นักเรียนฟังแล้ววาดภาพสิ่งที่เกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟัง
......ฟังแล้วจับคู่ภาพกับประโยคที่ได้ฟัง ผู้เรียนมีภาพคนละหลายภาพ ครูอ่านประโยคทีละประโยค ผู้เรียนเลือกจับคู่ภาพที่สอดคล้องกับประโยคที่ได้ฟัง โดยการเขียนหมายเลขลำดับที่ของประโยคลงใต้ภาพแต่ละภาพ
......ฟังแล้วปฏิบัติตาม ผู้สอนพูดประโยคคำสั่งให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งที่ได้ฟังแต่ละประโยค
......ฟังแล้วแสดงบทบาท ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับบทบาทให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนแสดงบทบาทตามประโยคที่ได้ฟังแต่ละประโยค หรือข้อความนั้น
......ฟังแล้วเขียนเส้นทาง ทิศทาง ผู้เรียนมีภาพสถานที่ต่างๆ คนละ 1 ภาพ ผู้สอนพูดประโยคหรือข้อความเกี่ยวกับเส้นทาง ทิศทาง ที่จะไปสู่สถานที่ต่างๆ ในภาพนั้น ให้ผู้เรียนฟัง ผู้เรียนลากเส้นทางจากตำแหน่งสถานที่แห่งหนึ่งไปสู่ตำแหน่งต่างๆ ตามที่ได้ฟัง
......3) กิจกรรมหลังการฟัง (Post-listening) เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการฟังแล้ว เช่น อาจฝึกทักษะการเขียน สำหรับผู้เรียนระดับต้น โดยให้เขียนตามคำบอก (Dictation) ประโยคที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นการตรวจสอบความรู้ ความถูกต้องของการเขียนคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างไวยากรณ์ ของประโยคนั้น หรือฝึกทักษะการพูด สำหรับผู้เรียนระดับสูง โดยการให้อภิปรายเกี่ยวกับสารที่ได้ฟัง หรืออภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้พูด เป็นต้น
การสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ(Writing skill)

1. การเขียนแบบควบคุม  (Controlled writing) เป็นกิจกรรมในการสอนทักษะการเขียน  ที่ผู้สอนให้เนื้อหาและรูปแบบภาษาสำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน เช่น รูปแบบประโยคที่ต้องใช้  ตัวอย่างย่อหน้าสำหรับเลียนแบบ  หรือข้อความสำหรับเติมให้สมบูรณ์กิจกรรมการเขียนแบบควบคุมอาจเป็นข้อความให้ผู้เรียนลอกข้อความโดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่าง เช่น  เปลี่ยนคำเอกพจน์เป็นพหูพจน์
2. การเขียนแบบมีการชี้แนะ (guided writing หรือ composition) เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการเขียน ที่พัฒนามาจากการเขียนแบบควบคุม  โดยผู้สอนให้เนื้อหาและรูปแบบภาษาเพียงบางส่วน สำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน  ผู้สอนอาจจะให้ประโยคเริ่มต้น  ประโยคสุดท้าย  คำถาม  หรือข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเขียน  กิจกรรมการเขียนแบบชี้แนะนี้  อาจจะใช้ข้อความจากสื่อเช่น ภาพหรือการ์ตูน  เอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว  โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น 
3. การฝึกทักษะการเขียนในลักษณะของการเขียนแบบเสรี ( free composition)
เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการเขียน ที่พัฒนามาจากการเขียนแบบควบคุม  โดยผู้สอนให้เนื้อหา
และรูปแบบภาษาเพียงบางส่วน สำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน  ผู้สอนอาจจะให้ประโยคเริ่มต้น
  ประโยคสุดท้าย  คำถาม  หรือข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเขียน  กิจกรรมการเขียนแบบชี้แนะนี้  อาจจะใช้ข้อความจากสื่อเช่น ภาพหรือการ์ตูน  เอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
  ข้อเสนอแนะสำหรับครู
แบบฝึกหัดเขียนนั้นให้ทำในห้องเรียนน้อยที่สุด ควรจะให้ทำเป็นการบ้าน เวลาส่วนใหญ่
น่าจะใช้เป็นการฝึก ฟัง และอ่านที่ครูจะต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด
การสอนตามคำบอกมีประโยชน์มาก จะต้องทำในห้องเรียนเช่นเดียวกับแบบฝึกหัดเขียน 
ซึ่งเป็นส่วนของการฝึกความเข้าใจในการฟัง
      •แบบฝึกหัดเขียนต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียนมาแล้วในแต่ละหน่วย เพื่อเสริมความแม่นยำ
      ให้กับทักษะ พูด อ่าน และเขียน
กิจกรรมการสอนทักษะการเขียน
 กิจกรรมก่อนการเขียน เป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลไกทางการเขียนในเรื่อง ต่างๆ เช่น การสะกดคำ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน  การใช้กาล (Tense) และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะเขียน
กิจกรรมระหว่างการเขียน  เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนนำมาใช้ในการฝึกทักษะการเขียน เช่น นำภาพประกอบมาให้นักเรียนเขียนเรื่องจากภาพ นำเทปบทสนทนามาเปิดให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนเขียนเป็นเรื่องเล่า หรือสรุปเรื่องที่ได้ยิน
กิจกรรมหลังการเขียน
เมื่อผู้เรียนเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจนำมาอ่านในชั้นเรียนผู้ให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง
 ตลอดจนนำมาแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ว่าข้อเขียนนั้นดีถูกต้องในการ
สื่อความมากน้อยเพียงไรและการใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
 และมีข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง 
การตรวจงานเขียน
1. การให้ระดับคะแนน  A, B, C หรือ /7, /8 ,…/10 การให้คะแนนแบบนี้เป็นการประเมินการเขียนโดยรวม มิใช่ดูเฉพาะความถูกต้องทางไวยากรณ์เป็นเกณฑ์  แต่ยังต้องดูว่านักเรียนสามารถใช้ภาษาสื่อความคิดได้ชัดเจนหรือไม่  และพัฒนาความคิดและเรื่องราวที่เขียนดีเหมาะสมมากน้อยเพียงไร
2.  การแสดงความคิดเห็นต่อการเขียน  good, fair, needs improvement, careless ผู้สอนพึงตระหนักว่าการแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนของนักเรียน  เป็นการชี้ให้ผู้เรียนเห็นทั้งจุดเด่นและข้อด้อย  ผู้สอนควรกล่าวชมสิ่งที่นักเรียนเขียนดีแล้ว  และค่อยชี้ให้เห็นจุดที่ยังบกพร่องให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไข
3.  การตรวจแก้ไขที่ผิด
ที่ผิดซึ่งนักเรียนเขียนมานั้น ผู้เรียนควรวิเคราะห์ด้วยว่ามาจากสาเหตุใด  ผิดเพราะนักเรียนไม่รู้จึงใช้ผิดเขียนผิดหรือผิดเพราะความสะเพร่า
ตัวอย่างวิดีโอการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ
                    Writing skill plan  
(Presentation)
 Unit: Health Topic: How to keep fit M.4


Click to download writing plan


เทคนิคการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ (Reading Skill)

การอ่านภาษาอังกฤษ  มี 2  ลักษณะ คือ  การอ่านออกเสียง (Reading aloud) และ การอ่านในใจ  (Silent Reading )  การอ่านออกเสียงเป็นการอ่านเพื่อฝึกความถูกต้อง (Accuracy)  และความคล่องแคล่ว ( Fluency)  ในการออกเสียง  ส่วนการอ่านในใจเป็นการอ่านเพื่อรับรู้และทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านซึ่งเป็นการอ่านอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกับการฟัง  ต่าง กันที่ การฟังใช้การรับรู้จากเสียงที่ได้ยิน ในขณะที่การอ่านจะใช้การรับรู้จากตัวอักษรที่ผ่านสายตา ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญและ มีความสามารถเพิ่มพูนขึ้นได้  ด้วยเทคนิควิธีการโดยเฉพาะ  ครูผู้สอนจึงควรมีความรู้และเทคนิคในการสอนทักษะการอ่านให้แก่ผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้การอ่านแต่ละลักษณะประสบผลสำเร็จ
1.   เทคนิควิธีปฏิบัติ
1.1 การอ่านออกเสียง   การฝึกให้ผู้เรียนอ่านออกเสียงได้อย่าง ถูกต้อง และคล่องแคล่ว ควรฝึกฝนไปตามลำดับ โดยใช้เทคนิควิธีการ ดังนี้
                (1)  Basic Steps of Teaching (BST)   มีเทคนิคขั้นตอนการฝึกต่อเนื่องกันไปดังนี้
- ครูอ่านข้อความทั้งหมด 1 ครั้ง / นักเรียนฟัง
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนทั้งหมดอ่านตาม
             - ครูอ่านทีละประโยค / นักเรียนอ่านตามทีละคน ( อาจข้ามขั้นตอนนี้ได้ ถ้านักเรียนส่วนใหญ่อ่านได้ดีแล้ว)
             - นักเรียนอ่านคนละประโยค ให้ต่อเนื่องกันไปจนจบข้อความทั้งหมด
             - นักเรียนฝึกอ่านเอง
             - สุ่มนักเรียนอ่าน
(2)  Reading  for  Fluency ( Chain Reading)   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนอ่านประโยคคนละประโยคอย่างต่อเนื่องกันไป เสมือนคนอ่านคนเดียวกัน  โดยครูสุ่มเรียกผู้เรียนจากหมายเลขลูกโซ่  เช่น ครูเรียก Chain-number One  นักเรียนที่มีหมายเลขลงท้ายด้วย 1,11,21,31,41, 51  จะเป็นผู้อ่านข้อความคนละประโยคต่อเนื่องกันไป หากสะดุดหรือติดขัดที่ผู้เรียนคนใด ถือว่าโซ่ขาด  ต้องเริ่มต้นที่คนแรกใหม่ หรือ เปลี่ยน Chain-number ใหม่
(3)  Reading and Look up คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยใช้วิธี อ่านแล้วจำประโยคแล้วเงยหน้าขึ้นพูดประโยคนั้นๆ อย่างรวดเร็ว คล้ายวิธีอ่านแบบนักข่าว
(4)  Speed Reading   คือ เทคนิคการฝึกให้นักเรียนแต่ละคน อ่านข้อความโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ การอ่านแบบนี้ อาจไม่คำนึงถึงความถูกต้องทุกตัวอักษร แต่ต้องอ่านโดยไม่ข้ามคำ เป็นการฝึกธรรมชาติในการอ่านเพื่อความคล่องแคล่ว (Fluency) และเป็นการหลีกเลี่ยงการอ่านแบบสะกดทีละคำ
(5)  Reading for Accuracy   คือ การฝึกอ่านที่มุ่งเน้นความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียง ทั้ง stress / intonation / cluster / final sounds ให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของการออกเสียง (Pronunciation) โดยอาจนำเทคนิค Speed Reading   มาใช้ในการฝึก และเพิ่มความถูกต้องชัดเจนในการออกเสียงสิ่งที่ต้องการ จะเป็นผลให้ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านได้อย่างถูกต้อง (Accuracy) และ คล่องแคล่ว (Fluency) ควบคู่กันไป
1.2  การอ่านในใจ     ขั้นตอนการสอนทักษะการอ่าน มีลักษณะเช่นเดียวกับขั้นตอนการสอนทักษะการฟัง โดยแบ่งเป็น  3   กิจกรรม  คือ   กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน หรือ ขณะที่สอนอ่าน (While-Reading) กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)   แต่ละกิจกรรมอาจใช้เทคนิค ดังนี้
1)  กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)   การ ที่ผู้เรียนจะอ่านสารได้อย่างเข้าใจ ควรต้องมีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับสารที่จะได้อ่าน โดยครูผู้สอนอาจใช้กิจกรรมนำให้ผู้เรียนได้มีข้อมูลบางส่วนเพื่อช่วยสร้าง ความเข้าใจในบริบท ก่อนเริ่มต้นอ่านสารที่กำหนดให้ โดยทั่วไป มี 2 ขั้นตอน คือ
- ขั้น Personalization เป็น ขั้นสนทนา โต้ตอบ ระหว่างครู กับผู้เรียน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน เพื่อทบทวนความรู้เดิมและเตรียมรับความรู้ใหม่จากการอ่าน
- ขั้น Predicting เป็น ขั้นที่ให้ผู้เรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่าน โดยอาจใช้รูปภาพ แผนภูมิ หัวเรื่อง ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะได้อ่าน แล้วนำสนทนา หรือ อภิปราย หรือ หาคำตอบเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ หรือ อาจฝึกกิจกรรมที่เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ขีดเส้นใต้ หรือวงกลมล้อมรอบคำศัพท์ในสารที่อ่าน หรือ  อ่านคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะได้อ่าน เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบแนวทางว่าจะได้อ่านสารเกี่ยวกับเรื่องใด  เป็นการเตรียมตัวล่วงหน้าเกี่ยวกับข้อมูลประกอบการอ่าน และค้นหาคำตอบที่จะได้จากการอ่านสารนั้นๆ  หรือ ทบทวนคำศัพท์จากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งจะปรากฏในสารที่จะได้อ่าน โดยอาจใช้วิธีบอกความหมาย  หรือทำแบบฝึกหัดเติมคำ ฯลฯ
2)  กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)  เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในขณะที่อ่านสารนั้น  กิจกรรมนี้มิใช่การทดสอบการอ่าน  แต่เป็นการ ฝึกทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ”  กิจกรรมระหว่างการอ่านนี้  ควรหลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติทักษะอื่นๆ  เช่น  การฟัง  หรือ  การเขียน  อาจจัดกิจกรรมให้พูดโต้ตอบได้บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากจะเป็นการเบี่ยงเบนทักษะที่ต้องการฝึกไปสู่ทักษะอื่นโดยมิได้เจตนา   กิจกรรมที่จัดให้ในขณะฝึกอ่าน  ควรเป็นประเภทต่อไปนี้
- Matching   คือ อ่านแล้วจับคู่คำศัพท์ กับ คำจำกัดความ หรือ จับคู่ประโยค เนื้อเรื่องกับภาพ แผนภูมิ
- Ordering   คือ อ่านแล้วเรียงภาพ แผนภูมิ ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน หรือ เรียงประโยค (Sentences) ตามลำดับเรื่อง หรือเรียงเนื้อหาแต่ละตอน (Paragraph) ตามลำดับของเนื้อเรื่อง
- Completing คือ อ่านแล้วเติมคำ สำนวน ประโยค   ข้อความ ลงในภาพ แผนภูมิ ตาราง ฯลฯ ตามเรื่องที่อ่าน
- Correcting    คือ อ่านแล้วแก้ไขคำ สำนวน ประโยค ข้อความ ให้ถูกต้องตามเนื้อเรื่องที่ได้อ่าน
- Deciding   คือ อ่านแล้วเลือกคำตอบที่ถูกต้อง (Multiple Choice)   หรือ เลือกประโยคถูกผิด (True/False) หรือ เลือกว่ามีประโยคนั้นๆ ในเนื้อเรื่องหรือไม่ หรือ เลือกว่าประโยคนั้นเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ เป็นความคิดเห็น (Opinion)
- Supplying / Identifying   คือ  อ่านแล้วหาประโยคหัวข้อเรื่อง ( Topic  Sentence)  หรือ สรุปใจความสำคัญ( Conclusion)  หรือ จับใจความสำคัญ ( Main Idea) หรือตั้งชื่อเรื่อง (Title)  หรือ ย่อเรื่อง (Summary)  หรือ หาข้อมูลรายละเอียดจากเรื่อง ( Specific  Information)
3)  กิจกรรมหลังการอ่าน (Post-Reading)  เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ภาษาในลักษณะทักษะสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากการอ่าน  ทั้งการฟัง  การพูดและการเขียน ภายหลังที่ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมระหว่างการอ่านแล้ว  โดยอาจฝึกการแข่งขันเกี่ยวกับคำศัพท์  สำนวน ไวยากรณ์ จากเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นการตรวจสอบทบทวนความรู้  ความถูกต้องของคำศัพท์  สำนวน  โครงสร้างไวยากรณ์  หรือ ฝึกทักษะการฟังการพูดโดยให้ผู้เรียนร่วมกันตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง แล้วช่วยกันหาคำตอบ สำหรับผู้เรียนระดับสูง อาจให้พูดอภิปรายเกี่ยวกับอารมณ์หรือเจตคติของผู้เขียนเรื่องนั้น  หรือฝึกทักษะการเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่าน  เป็นต้น
3.    บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)   
การสอนทักษะการอ่านโดยใช้เทคนิคต่างๆ ในการจัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนตามข้อเสนอแนะข้างต้น  จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการอ่านของผู้เรียนให้สูงขึ้นตามลำดับ  ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน  ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการอ่านที่ดี  จะนำผู้เรียนไปสู่ทักษะการพูด และการเขียนที่ดีได้เช่นเดียวกัน
คำสำคัญ ( Keywords)  
                           1. ทักษะการอ่าน
                           2. การอ่านออกเสียง
                           3. การอ่านในใจ
                           4. กิจกรรมในการสอนอ่าน
                           5. กิจกรรมนำเข้าสู่การอ่าน ( Pre-Reading)
                           6. กิจกรรมระหว่างการอ่าน  หรือ กิจกรรมขณะที่สอนอ่าน ( While-Reading)
                           7. กิจกรรมหลังการอ่าน  (Post-Reading)
วิดีโอตัวอย่างการสอนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ

Unit: Culture Topic: General Information M.3




Click to download reading plan

Course design


Click to download all of course design

Co  unit: people   topic: friend 


Culture  unit food and drink topic type of food


Internet

 Learning   unit travel topic transportation  

MI: unit: environment   topic:how to preserve environment

PPP Model


PPP Model

  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวธรรมชาติ  

       รูปแบบการสอนภาษาเพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ เป็นการบูรณาการ
วิธีการสอนต่าง ๆ 
                            วิธีสอนแบบ 3P หรือ ขั้นตอน ได้แก่
              ❃! ขั้นนำ เสนอ (Presentation)
              ❃! ขั้นฝึก (Practice)
              ❃! ขั้นนำ ไปใช้ (Production)
                1. ครูนำ เสนอบทเรียนในขั้นนำ เสนอ (P1 = Presentation)
 โดยนำ เสนอเป็นรูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร (Whole Language) 
ไม่แยกสอนเป็นคำ ๆ นักเรียนจะเข้าใจภาษานั้นโดยภาพรวม 
หลีกเลี่ยงการแปลคำ ต่อคำ การนำ เสนอต้องชัดเจน และตรวจสอบ
จนแน่ใจว่านักเรียนเข้าใจสิ่งที่ครูนำ เสนอนั้น
               2. ครูใช้กิจกรรมในขั้นฝึก (P2 = Practice) อย่างหลากหลาย 
โดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ฝึกหัดและพูดในกลุ่มใหญ่ (Whole Group)
 ก่อน เพื่อให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษา ฝึกกลุ่มย่อยโดยใช้
การฝึกลูกโซ่ (Chain Drill) เพื่อให้โอกาสนักเรียนได้สื่อสารทุกคน 
ฝึกคู่ (Pair Work) เปลี่ยนกันถาม-ตอบ เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ
 แล้วจึงให้นักเรียนฝึกเดี่ยว (Individual) โดยฝึกพูดกับครูทีละคน 
การฝึกเดี๋ยวนี้ครูจะเลือกนักเรียนเพียง 2-3 คน เพื่อทำ เป็นตัวอย่าง
ในแต่ละครั้ง กิจกรรมขั้นนี้ใช้เวลา แต่นักเรียนจะได้ปฏิบัติจริง 
ครูเพียงแต่คอยกำ กับดูแลให้การฝึกดำ เนินไปอย่างมีความหมายและสนุก
               3. กิจกรรมขั้นนำ เสนอผลงาน P3 (Production) เป็นขั้นที่นักเรียน
จะนำ ภาษาไปใช้ ครูอาจจะให้ทำ แบบฝึกหัด อ่านและเขียนร้องเพลง
 หรือเล่นเกม ที่สืบเนื่องและเกี่ยวข้องกับภาษาที่เรียนมาในขั้นที่ 1
 และ อาจให้ทำ งานเป็นการบ้านหรือสร้างสรรค์ผลงาน
               4. ใหม่จากความคิดของนักเรียนเอง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียน
ได้เรียนเรื่องเวลา กำ หนดเวลา ถาม-ตอบ เกี่ยวกับเวลาแล้วก็สามารถ
คิดตารางเวลาเพื่อกำ หนดการเดินรถโดยสารของตนเองโดยสมมุติได้
ในการจัดกิจกรรมขั้นฝึกและนำ เสนอผลงาน สามารถนำกิจกรรมเสริม
ทางภาษาที่ครูมีความถนัด เช่น เกมทางภาษา เพลงหรือกิจกรรมเกี่ยวกับ
จังหวะ การวาดภาพ ฯลฯ มาใช้เพื่อช่วยส่งเสริมความคิด และช่วยให้
การจัดการเรียนการสอนภาษาเป็นภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยสอนทักษ
ฟัง-พูด-อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆกัน ด้วยวิธีบูรณาการทักษะที่ให้นักเรีย
เป็นศูนย์กลาง

             สื่อการเรียนการสอน
            
                การจัดการเรียนการสอนภาษา เพื่อสื่อสารตามธรรมชาติ 

จะใช้สื่อตามสภาพจริง ควบคู่กับสื่อที่ผลิตขึ้นมา สื่อดังกล่าว ได้แก่

                                 1. ของจริง (Reality)

                                 2. ภาพที่ผลิตขึ้นเองและภาพจากหนังสือพิมพ์ (Pictures)

                                 3. วรรณคดีสำ หรับอ่านให้นักเรียนฟัง (Literature)

                                 4. ท่าทาง (Gesture)

                                 5. วิธีการและกิจกรรม (Activities)

                                 6. เพลงและเกม (Songs and Games)
                                                  
                                 7. บทบาทสมมุติ (Role Play)


วิดีโอตัวอย่างการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้แผนการเรียนรู้
PPP Model

                          
                         PPP Model (Production)
      Unit: Interests / opinion    Topic: Movies    


                   Click to download   PPP Model plan