1. การเขียนแบบควบคุม (Controlled writing) เป็นกิจกรรมในการสอนทักษะการเขียน ที่ผู้สอนให้เนื้อหาและรูปแบบภาษาสำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน เช่น รูปแบบประโยคที่ต้องใช้ ตัวอย่างย่อหน้าสำหรับเลียนแบบ หรือข้อความสำหรับเติมให้สมบูรณ์กิจกรรมการเขียนแบบควบคุมอาจเป็นข้อความให้ผู้เรียนลอกข้อความโดยเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่าง เช่น เปลี่ยนคำเอกพจน์เป็นพหูพจน์
2. การเขียนแบบมีการชี้แนะ (guided writing หรือ composition) เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการเขียน ที่พัฒนามาจากการเขียนแบบควบคุม โดยผู้สอนให้เนื้อหาและรูปแบบภาษาเพียงบางส่วน สำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน ผู้สอนอาจจะให้ประโยคเริ่มต้น ประโยคสุดท้าย คำถาม หรือข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเขียน กิจกรรมการเขียนแบบชี้แนะนี้ อาจจะใช้ข้อความจากสื่อเช่น ภาพหรือการ์ตูน เอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
3. การฝึกทักษะการเขียนในลักษณะของการเขียนแบบเสรี ( free composition)
เป็นกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะการเขียน ที่พัฒนามาจากการเขียนแบบควบคุม โดยผู้สอนให้เนื้อหา
และรูปแบบภาษาเพียงบางส่วน สำหรับผู้เรียนใช้ในการเขียน ผู้สอนอาจจะให้ประโยคเริ่มต้น
ประโยคสุดท้าย คำถาม หรือข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการเขียน กิจกรรมการเขียนแบบชี้แนะนี้ อาจจะใช้ข้อความจากสื่อเช่น ภาพหรือการ์ตูน เอกสารแผ่นพับเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะสำหรับครู
•แบบฝึกหัดเขียนนั้นให้ทำในห้องเรียนน้อยที่สุด ควรจะให้ทำเป็นการบ้าน เวลาส่วนใหญ่
น่าจะใช้เป็นการฝึก ฟัง และอ่านที่ครูจะต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด
•การสอนตามคำบอกมีประโยชน์มาก จะต้องทำในห้องเรียนเช่นเดียวกับแบบฝึกหัดเขียน
ซึ่งเป็นส่วนของการฝึกความเข้าใจในการฟัง
•แบบฝึกหัดเขียนต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เรียนมาแล้วในแต่ละหน่วย เพื่อเสริมความแม่นยำ ให้กับทักษะ พูด อ่าน และเขียน
กิจกรรมการสอนทักษะการเขียน
กิจกรรมก่อนการเขียน เป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลไกทางการเขียนในเรื่อง ต่างๆ เช่น การสะกดคำ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน การใช้กาล (Tense) และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่จะเขียน
กิจกรรมระหว่างการเขียน เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนนำมาใช้ในการฝึกทักษะการเขียน เช่น นำภาพประกอบมาให้นักเรียนเขียนเรื่องจากภาพ นำเทปบทสนทนามาเปิดให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนเขียนเป็นเรื่องเล่า หรือสรุปเรื่องที่ได้ยิน
กิจกรรมหลังการเขียน
•เมื่อผู้เรียนเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว อาจนำมาอ่านในชั้นเรียนผู้ให้เพื่อนร่วมชั้นฟัง
ตลอดจนนำมาแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ว่าข้อเขียนนั้นดีถูกต้องในการ
สื่อความมากน้อยเพียงไรและการใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสมหรือไม่
และมีข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง
การตรวจงานเขียน
1. การให้ระดับคะแนน A, B, C หรือ /7, /8 ,…/10 การให้คะแนนแบบนี้เป็นการประเมินการเขียนโดยรวม มิใช่ดูเฉพาะความถูกต้องทางไวยากรณ์เป็นเกณฑ์ แต่ยังต้องดูว่านักเรียนสามารถใช้ภาษาสื่อความคิดได้ชัดเจนหรือไม่ และพัฒนาความคิดและเรื่องราวที่เขียนดีเหมาะสมมากน้อยเพียงไร
2. การแสดงความคิดเห็นต่อการเขียน good, fair, needs improvement, careless ผู้สอนพึงตระหนักว่าการแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนของนักเรียน เป็นการชี้ให้ผู้เรียนเห็นทั้งจุดเด่นและข้อด้อย ผู้สอนควรกล่าวชมสิ่งที่นักเรียนเขียนดีแล้ว และค่อยชี้ให้เห็นจุดที่ยังบกพร่องให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไข
3. การตรวจแก้ไขที่ผิด
•ที่ผิดซึ่งนักเรียนเขียนมานั้น ผู้เรียนควรวิเคราะห์ด้วยว่ามาจากสาเหตุใด ผิดเพราะนักเรียนไม่รู้จึงใช้ผิดเขียนผิดหรือผิดเพราะความสะเพร่า
ตัวอย่างวิดีโอการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ
Writing skill plan
(Presentation)
Unit: Health Topic: How to keep fit M.4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น